١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

ประสิทธิภาพสูงสุดแม้ว่า บดให้ละเอียดมากกว่านี้ก็ไม่ทำให้ความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟตเพิ่มขึ้น
3. ชนิดของดิน ดินต่างชนิดกันจะทำให้หินฟอสเฟตละลายได้ต่างกัน โดยเฉพาะดินที่มีค่าความเป็นกรด - ด่าง ต่างกัน การใช้หินฟอสเฟตในดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง ให้ผลต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่มากเท่ากับการใช้ในดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด กล่าวคือ หินฟอสเฟตจะมีประสิทธิภาพดีในดินกรด แต่ในดินที่เป็นกลางและดินที่เป็นด่าง หินฟอสเฟต ไม่ช่วยให้น้ำหนักแห้งของพืชเพิ่มขึ้น ในการศึกษาหลายกรณี พบว่าในสภาพที่เป็นกรดนั้นหินฟอสเฟตจะมีประสิทธิภาพดีทัดเทียมกับปุ๋ยเคมีฟอสเฟตและปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต แต่ในดินที่เป็นกลางหินฟอสเฟตจะมีประสิทธิภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรก ของการใส่ปุ๋ย แต่สำหรับดินที่เป็นกรดปานกลาง (pH5.4)
นั้น หินฟอสเฟตจะให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำกว่าปุ๋ยเคมีฟอสเฟตและปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต ในระยะแรก แต่หากไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป การใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟตจะให้ผลไม่ต่างกับซุปเปอร์ฟอสเฟต นอกจากนี้ยังพบว่าหินฟอสเฟตที่มีแร่อะพาไทต์อยู่มากส่วนใหญ่จะละลายได้ดี และเป็นประโยชน์ต่อพืชในดินที่มีสภาพเป็นกรด แต่หินฟอสเฟตพวกที่มีเหล็กฟอสเฟตและอะลูมิเนียม

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

40 เปอร์เซ็นต์ p2o5 ส่วนใหญ่มีฟอสเฟตทั้งหมดประมาณ 30 % P2O5 มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ประมาณ 6% P2O5 เมื่อใส่หินฟอสเฟตบดละเอียด เป็นปุ๋ยลงไปในดิน อัตราการละลายของฟอสฟอรัสออกมาจากปุ๋ยหินฟอสเฟตนั้น ค่อนข้างช้าและมีปริมาณต่ำทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช และเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยฟอสเฟตประเภทที่เป็นประโยชน์ง่าย เช่น ดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (double superphosphate – มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของน้ำหนักปุ๋ย) เมื่อใส่ลงไปในดินในระยะแรกๆ ปุ๋ยหินฟอสเฟต จะให้ผลผลิตน้อย แต่ในระยะหลังปุ๋ยหินฟอสเฟตจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า ในปีแรกในพืชหลายชนิด เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง
ความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟต
การนำหินฟอสเฟต มาใช้เพื่อเป็นปุ๋ยโดยตรงให้กับพืชนั้น ความเป็น ประโยชน์ของหินฟอสเฟตต่อพืชจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ ได้แก่
1 ธรรมชาติ ของหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตมีองค์ประกอบทางธรณีเคมี (geochemistry) แตกต่างกันไปในแต่ละแหล่งกำเนิด ซึ่งจะมีปริมาณแคลเซียมฟอสเฟตไม่แน่นอน แต่โดยทั่วๆไปแล้ว จะมีปริมาณแคลเซียม ฟอสเฟตไม่แน่นอน แต่โดยทั่วๆไปแล้ว จะมีปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด 10 ถึง 40 % P2O5 ปริมาณของฟลูออรินในหินฟอสเฟตมีความสำคัญต่อความเป็น ประโยชน์ของหินฟอสเฟต หากมีฟลูออรีนมากจะทำให้หินฟอสเฟตมีความเสถียรต่อการสลายตัวเพื่อให้ฟอสเฟตอิออน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ยากขึ้น
หินฟอสเฟตจากแหล่งทางธรณี (geographical source)
ต่างกันจะมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน หินฟอสเฟตที่เกิดจากหินอัคนีจะสลายตัวให้ปริมาณ ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยกว่า หินฟอสเฟตที่เกิดจากหินชั้น นอกจากนี้พืชต่างชนิดกันจะดูดฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟตไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน และพบว่าหินฟอสเฟตที่มีปริมาณคาร์บอเนตสูงกว่า จะมีคุณภาพที่ดีกว่า2.ขนาดของอนุภาค (particle size) ของหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยให้แก่ พืชชนิดต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีใดๆ เพียงแต่นำหินฟอสเฟตมาบดให้ ละเอียดเป็นผง แล้วนำไปใส่โดยตรงในดินที่ปลูกพืชความละเอียดของปุ๋ยหินฟอสเฟตขนาด 100 เมช (mesh) เพียงพอที่จะทำให้มี

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

หินฟอสเฟตจากหินอัคนี (igneous phosphate rocks) เป็นหินฟอสเฟตที่มักจะพบอยู่กับหินอัคนี ประกอบด้วยแร่อะพาไทต์มักเป็นหินชนิดฟลูอออะพาไทด์ปะปนกับไฮดรอกซีอะพาไทด์
ฟอสฟอไรต์ (phosphorites) เป็นหินฟอสเฟตที่มาจากหินตะกอนที่มีแร่อะพาไทต์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ อาจมีแร่อื่นตามสถานที่เกิดปะปนอยู่มาก เช่น แร่ดินเหนียว และ แคลไซต์
ประมาณร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตหินฟอสเฟตของโลกมาจาก มารีนฟอสเฟต อีกร้อยละ 17 ได้จากหินอัคนี ส่วนที่เหลือได้จากหินตะกอนและกัวโนฟอสเฟต
การใช้ประโยชน์หินฟอสเฟต
หินฟอสเฟตที่ผลิตได้ในโลกร้อยละ 70 ใช้เป็นวัตถุดิของอุตสาหกรรม การผลิตกรดฟอสเฟต ปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ ส่วนที่เหลือนำไป ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางอุตสาหกรรม เช่นส่วนประกอบในผงซักฟอก ผงฟู ยาสีฟัน ยารักษาโรค ไม้ขีดไฟ วัตถุ ขัดถู วัตถุระเบิด และ อาหารสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำหินฟอสเฟต มาใช้เป็น ปุ๋ยโดยตรง โดยนำมาบดแล้ว ใส่ในดิน ที่เรียกว่า “ปุ๋ยหินฟอสเฟต” (phosphate rock fertilizer) ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหินฟอสเฟตในชื่อการค้าต่างๆ ทั่วโลกกว่า 300 ชื่อ
หินฟอสเฟตในประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มทำการสำรวจแหล่งหินฟอสเฟต เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตปุ๋ย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ผลการสำรวจพบกัวโนฟอสเฟตอยู่หลายแหล่งสะสมในบริเวณ เทือกเขาหินปูน และตามถ้ำต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ เช่น ลำพูน สุโขทัย เพชรบูรณ์ ราชบุรี กาญจนบุรี เลย กระบี่ สุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต ส่วนการนำมาใช้ประโยชน์นั้น มีการขุดหินฟอสเฟตมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ปริมาณหินฟอสเฟตของประเทศไทยมีไม่มากพอ ที่จะใช้ประโยชน์ ในการผลิตปุ๋ยเคมีฟอสเฟตเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้
แต่สามารถขุดมาใช้ในโรงงานปุ๋ยขนาดเล็กหรือ นำไปบดใช้เป็นหินฟอสเฟตใส่โดยตรงให้กับพืช
คุณภาพของหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตที่สำรวจพบในประเทศไทยมีปริมาณฟอสเฟตแตกต่างกันเป็นอย่างมากตามแหล่งที่พบ โดยมีปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด (total phosphate) อยู่ในช่วง 10 ถึง

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

องค์ประกอบของส่วนต่างๆ ภายในเซลล์ เช่น โปรโตพลาสซึม ตลอดจนเป็นองค์ประกอบ ของสารชีวเคมี เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ของเซลล์ เช่น เอนไซม์ เป็นต้น
จากกระบวนการทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการละลาย สารประกอบ อนินทรีย์ฟอสเฟตในดินโดยจุลินทรีย์พีเอสเอ็ม เป็นกระบวนการที่ มีความสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด เนื่องจากความเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งในแง่ปริมาณและระยะเวลาที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นานเพียงใด สิ่งสำคัญส่วนหนึ่งมาจากชนิด ปริมาณ และการดำเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้
หินฟอสเฟตแหล่งของธาตุฟอสฟอรัสราคาถูก
หินฟอสเฟต (rock phosphate) คืออะไร?
หินฟอสเฟต หมายถึง หินที่มีแคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) เป็นส่วน ประกอบที่สำคัญโดยมีองค์ประกอบอื่นๆ ปนอยู่ด้วย เช่น แคลไซต์ ซิลิกา ซิลิเกต ออกไซด์ของเหล็ก และอะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ของเหล็กและอลูมิเนียม หินฟอสเฟตส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยจะอยู่ในรูปของแร่อะพาไทด์ (apatite) ลักษณะหินฟอสเฟตส่วนมากมีเนื้อละเอียดแน่นไม่เป็นผลึกหรือเป็นผลึกที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ในการหาปริมาณของฟอสเฟตมักจะวิเคราะห์เป็นเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus) แล้วบอกปริมาณในรูปของฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ (P2O5)
แหล่งของหินฟอสเฟต
หินฟอสเฟตแบ่งตามแหล่งที่มาเป็น 4 ชนิดคือ
มารีนฟอสเฟต (marine phosphate rocks) เป็นหินฟอสเฟตที่เกิดจากการตกตะกอนของฟอสเฟตและแคลเซียมในทะเล ประกอบด้วยแร่อะพาไทด์ เป็นองค์ประกอบหลักโดยเป็นพวกคาร์บอเนตอะพาไทต์อาจมีแคลไซต์และซิลิกา ปะปนอยู่
กัวโนฟอสเฟต (marine phosphate rocks) เป็นหินฟอสเฟตที่เกิดจากมูลนกทะเลหรือมูลสัตว์ เช่น ค้างคาว หากมีหินปูนรองรับจะเป็นหินฟอสเฟต ที่แร่อะพาไทต์เป็นแร่หลัก แต่ถ้าบริเวณนั้นมีหินจากภูเขาไฟรองรับจะเป็นแร่ฟอสเฟตประเภทอะลูมิเนียมฟอสเฟต เหล็กฟอสเฟต หรือ เหล็กอะลูมิเนียมฟอสเฟต แต่อย่างไร?ก็ตามมักมีแร่อะพาไทต์ปะปน อาจมีสารอินทรีย์และสาร ประกอบไนโตรเจนปะปนอยู่ด้วย

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

ของฟอสเฟตที่ตกตะกอนสะสมในทะเล เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยา โดยการยกตัวของเปลือกโลกก็จะกลายเป็นภูเขา หรือแหล่งของหินฟอสเฟตบนแผ่นดิน

โดยทั่วไปแล้ววัฏจักรฟอสฟอรัสในดินที่ไม่ถูกรบกวน เช่นในพื้นที่ป่าจะเป็น วัฏจักรแบบปิด แต่ในพื้นที่เกษตรกรรมวัฏจักรของฟอสฟอรัสจะเป็นแบบเปิดเนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดิน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงตามที่ต้องการ
นอกเหนือไปจากปฏิกิริยาการตรึงฟอสฟอรัสโดยกระบวนการทางเคมีในดินแล้ว จุลินทรีย์ในดินจัดเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินต่อพืช เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟตด้วยกรดอินทรีย์ (solubilization) การย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตด้วยเอนไซม์ (mineralization) และการตรึงฟอสฟอรัส (immobilization) โดยการดูดซึมเข้าสู่ภายในเซลล์
กระบวนการละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต เป็นกระบวนการ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเพิ่มธาตุอาหารฟอสฟอรัสให้แก่พืช โดยจุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรียและรายจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูปของสาร ประกอบฟอสเฟต ที่ไม่ละลายน้ำซึ่งพืชไม่สามารถดูดดึงไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น หินฟอสเฟต กระดูกป่น โดยเฉพาะฟอสเฟตที่ถูกตรึงด้วยกระบวนการทางเคมีในดินให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดดึงไปใช้ประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโต จุลินทรีย์ ในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสเฟต (Phosphate Solubilizing Microorganisms, PSM) หรือเรียกโดยย่อว่า “จุลินทรีย์พีเอ็สเอ็ม”
การย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตจะเกิดขึ้นเป็นอย่างมากภายหลังการเก็บเกี่ยวพืช หรือเมื่อมีการเดิมอินทรียวัตถุลงสู่ดิน การย่อยสลายเกิด
ขึ้นจากเอนไซม์ต่างๆ ที่สร้างโดยจุลินทรีย์ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง หรือในดินที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ตลอดจนอินทรียวัตถุในรูปอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ กระบวนการตรึงหรือการนำฟอสฟอรัสไปใช้ จุลินทรีย์จะดูดซึม ฟอสฟอรัสไปใช้โดยเปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต ซึ่งใช้ในการสร้าง

เทคโนโลยีธาตุอาหาร

เพียงพอต่อ ความต้องการของพืช ดินที่ใช้ในการเกษตรโดยทั่วไป มักมีฟอสเฟตอิออนในสารละลายดินไม่เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัส
ให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตที่ละลายได้ดี เมื่อใส่ลงดิน อาจถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่ละลายด้วยกระบวนการตรึงฟอสเฟต ทางาเคมี (chemical fixation of phosphate) ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในดินที่มี สภาพเป็นกรด และดินที่มีสภาพเป็นด่าง ภายในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2 ใน 3 ของปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ลงในดินพืชจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์จะถูกตรึงโดยองค์ประกอบ หรือ อนุภาคต่างๆ ในดิน ในดินกรดการตรึงฟอสเฟตจะเกิดจากการตกตะกอนของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ยาก ฟอสเฟตยังถูกตรึงโดยการทำปฏิกิริยาระหว่าง แคลเซียมและฟอสเฟตเป็น ไต – และไตรแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งละลายน้ำได้ยาก ในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชอย่างต่อเนื่อง การเติมธาตุอาหารฟอสฟอรัส โดยเฉพาะในรูปของปุ๋ยที่ละลายน้ำได้เป็นสิ่งจำเป็นทั้งเพื่อคงปริมาณฟอสฟอรัส ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ต่อไป รวมทั้งเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือมีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ ด้วยเหตุนี้ ดิน พืช น้ำ การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส หรือสภาพลมฟ้าอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการตอบสนองของพืชต่อการใส่ปุ๋ย ฟอสฟอรัสได้อย่างเหมาะสม
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด แหล่งสำคัญของฟอสฟอรัสมาจากหินฟอสเฟต การสึกกร่อนของหินฟอสเฟตโดยลม และ การชะล้างโดยน้ำก่อให้เกิดการสะสมของธาตุฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟตทั้งในดินและในแหล่งน้ำ หินฟอสเฟต (รวมทั้งปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสที่ผลิตจากหินฟอสเฟต)ในส่วนที่ละลายน้ำได้จะถูกดูดดึงไปใช้ในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต ตลอดจนการทำงานต่างๆ ของระบบเมแทบอลิซึมในเซลล์พืช และเกิดจะเกิดการถ่ายทอดอินทรีย์ฟอสเฟตสู่สัตว์ที่กินพืชซึ่งจะปลดปล่อยฟอสเฟตที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งขับถ่ายของสัตว์ลงสู่ดิน ในส่วนของพืชและสัตว์ที่ตายลงจะถูกจุลินทรีย์ ย่อยสลายและปลดปล่อยฟอสเฟตออกมา ซึ่งบางส่วนจะถูกพืชดูดดึงไปใช้ บางส่วนจะถูกตรึงโดยกระบวนการทางเคมีและสะสมในดิน บางส่วนจะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ส่วน

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

นอกจากการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ จากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่ตรึงไนโตรเจนในนาข้าวเพื่อทดแทนการนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจน ขณะนี้คงถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับ นโยบาย ระดับบริหาร และ ระดับปฏิบัติการ และท้ายที่สุดตัวเกษตรกรเองจะต้องให้ความสนใจศึกษาแนวทางการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีในประเทศ คือ หินฟอสเฟต และจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟส หรือจุลินทรีย์พีเอสเอ็ม มาใช้เป็นแหล่งของธาตุอาหารฟอสฟอรัสในการเพาะปลูกพืชทั้งเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า และเพิ่มการพึ่งพาตนเอง อันจะนำไป สู่การสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศในอนาคตอย่างยั่งยืน
บทบาทของธาตุฟอสฟอรัสในพืช
ฟอสฟอรัสนับเป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญในการผลิตพืชอาหารรองจากธาตุ ไนโตรเจน พืชจะมีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ร้อยละ 0.05 – 0.5 โดยพบในรูปของสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบของไฟดิน (phytin) ฟอสโฟลิปิด (phospholipid) กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) น้ำตาลฟอสเฟต (phosphorylated sugar) และโคเอนไซม์ (coenzyme) นอกจากนี้ฟอสฟอรัสยังมีบทบาท เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้น้ำตาลและแป้ง การสังเคราะห์ แสง การสร้างนิวเครียส การแบ่งเซลล์ การสร้างไขมันและโปรตีน ตลอดจนการ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม รวมถึงการถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการ เมแทบอลิซึมที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และการทำลายต่างๆ ภายในเซลล์ ในช่วงของการเจริญเติบโตพืชจะดูดดึง (uptake) ฟอสฟอรัสในปริมาณมาก และฟอสฟอรัสในพืชจะถูกนำไปสะสมในผลและเมล็ดในช่วงการสืบพันธุ์ของพืช หากพืชได้รับธาตุนี้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชผิดปกติ ต้นแคระแกรน มีการหายใจและการสังเคราะห์แสงลดลง ใบมีสีเขียวเข้มผิดปกติ ผลผลิตต่ำ โดยทั่วไปพืชจะดูดดึงฟอสฟอรัสจากดินในรูปโมโนเบสิคออร์โทฟอสเฟตอิออน (monobasic orthophosphate ion,H2 PO4)เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาอยู่ในรูปไดเบสิคออร์โทฟอสเฟตอิออน (dibasic orthophosphate ion, HPO4) ระดับของฟอสฟอรัสในดินเกี่ยวข้องกับระดับ ของฟอสฟอรัสในพืชเป็นอย่างมาก กล่าวคือดินที่มีระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ จะทำให้พืชที่ปลูกในบริเวณนั้นมีปริมาณฟอสฟอรัสในพืชต่ำจนอาจไม่