١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

40 เปอร์เซ็นต์ p2o5 ส่วนใหญ่มีฟอสเฟตทั้งหมดประมาณ 30 % P2O5 มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ประมาณ 6% P2O5 เมื่อใส่หินฟอสเฟตบดละเอียด เป็นปุ๋ยลงไปในดิน อัตราการละลายของฟอสฟอรัสออกมาจากปุ๋ยหินฟอสเฟตนั้น ค่อนข้างช้าและมีปริมาณต่ำทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช และเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยฟอสเฟตประเภทที่เป็นประโยชน์ง่าย เช่น ดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (double superphosphate – มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของน้ำหนักปุ๋ย) เมื่อใส่ลงไปในดินในระยะแรกๆ ปุ๋ยหินฟอสเฟต จะให้ผลผลิตน้อย แต่ในระยะหลังปุ๋ยหินฟอสเฟตจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า ในปีแรกในพืชหลายชนิด เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง
ความเป็นประโยชน์ของหินฟอสเฟต
การนำหินฟอสเฟต มาใช้เพื่อเป็นปุ๋ยโดยตรงให้กับพืชนั้น ความเป็น ประโยชน์ของหินฟอสเฟตต่อพืชจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ ได้แก่
1 ธรรมชาติ ของหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตมีองค์ประกอบทางธรณีเคมี (geochemistry) แตกต่างกันไปในแต่ละแหล่งกำเนิด ซึ่งจะมีปริมาณแคลเซียมฟอสเฟตไม่แน่นอน แต่โดยทั่วๆไปแล้ว จะมีปริมาณแคลเซียม ฟอสเฟตไม่แน่นอน แต่โดยทั่วๆไปแล้ว จะมีปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด 10 ถึง 40 % P2O5 ปริมาณของฟลูออรินในหินฟอสเฟตมีความสำคัญต่อความเป็น ประโยชน์ของหินฟอสเฟต หากมีฟลูออรีนมากจะทำให้หินฟอสเฟตมีความเสถียรต่อการสลายตัวเพื่อให้ฟอสเฟตอิออน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ยากขึ้น
หินฟอสเฟตจากแหล่งทางธรณี (geographical source)
ต่างกันจะมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน หินฟอสเฟตที่เกิดจากหินอัคนีจะสลายตัวให้ปริมาณ ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยกว่า หินฟอสเฟตที่เกิดจากหินชั้น นอกจากนี้พืชต่างชนิดกันจะดูดฟอสฟอรัสจากหินฟอสเฟตไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน และพบว่าหินฟอสเฟตที่มีปริมาณคาร์บอเนตสูงกว่า จะมีคุณภาพที่ดีกว่า2.ขนาดของอนุภาค (particle size) ของหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยให้แก่ พืชชนิดต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีใดๆ เพียงแต่นำหินฟอสเฟตมาบดให้ ละเอียดเป็นผง แล้วนำไปใส่โดยตรงในดินที่ปลูกพืชความละเอียดของปุ๋ยหินฟอสเฟตขนาด 100 เมช (mesh) เพียงพอที่จะทำให้มี

ليست هناك تعليقات: