١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

หินฟอสเฟตจากหินอัคนี (igneous phosphate rocks) เป็นหินฟอสเฟตที่มักจะพบอยู่กับหินอัคนี ประกอบด้วยแร่อะพาไทต์มักเป็นหินชนิดฟลูอออะพาไทด์ปะปนกับไฮดรอกซีอะพาไทด์
ฟอสฟอไรต์ (phosphorites) เป็นหินฟอสเฟตที่มาจากหินตะกอนที่มีแร่อะพาไทต์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ อาจมีแร่อื่นตามสถานที่เกิดปะปนอยู่มาก เช่น แร่ดินเหนียว และ แคลไซต์
ประมาณร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตหินฟอสเฟตของโลกมาจาก มารีนฟอสเฟต อีกร้อยละ 17 ได้จากหินอัคนี ส่วนที่เหลือได้จากหินตะกอนและกัวโนฟอสเฟต
การใช้ประโยชน์หินฟอสเฟต
หินฟอสเฟตที่ผลิตได้ในโลกร้อยละ 70 ใช้เป็นวัตถุดิของอุตสาหกรรม การผลิตกรดฟอสเฟต ปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ ส่วนที่เหลือนำไป ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางอุตสาหกรรม เช่นส่วนประกอบในผงซักฟอก ผงฟู ยาสีฟัน ยารักษาโรค ไม้ขีดไฟ วัตถุ ขัดถู วัตถุระเบิด และ อาหารสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำหินฟอสเฟต มาใช้เป็น ปุ๋ยโดยตรง โดยนำมาบดแล้ว ใส่ในดิน ที่เรียกว่า “ปุ๋ยหินฟอสเฟต” (phosphate rock fertilizer) ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหินฟอสเฟตในชื่อการค้าต่างๆ ทั่วโลกกว่า 300 ชื่อ
หินฟอสเฟตในประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มทำการสำรวจแหล่งหินฟอสเฟต เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตปุ๋ย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ผลการสำรวจพบกัวโนฟอสเฟตอยู่หลายแหล่งสะสมในบริเวณ เทือกเขาหินปูน และตามถ้ำต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ เช่น ลำพูน สุโขทัย เพชรบูรณ์ ราชบุรี กาญจนบุรี เลย กระบี่ สุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต ส่วนการนำมาใช้ประโยชน์นั้น มีการขุดหินฟอสเฟตมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ปริมาณหินฟอสเฟตของประเทศไทยมีไม่มากพอ ที่จะใช้ประโยชน์ ในการผลิตปุ๋ยเคมีฟอสเฟตเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้
แต่สามารถขุดมาใช้ในโรงงานปุ๋ยขนาดเล็กหรือ นำไปบดใช้เป็นหินฟอสเฟตใส่โดยตรงให้กับพืช
คุณภาพของหินฟอสเฟต หินฟอสเฟตที่สำรวจพบในประเทศไทยมีปริมาณฟอสเฟตแตกต่างกันเป็นอย่างมากตามแหล่งที่พบ โดยมีปริมาณฟอสเฟตทั้งหมด (total phosphate) อยู่ในช่วง 10 ถึง

ليست هناك تعليقات: