١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

องค์ประกอบของส่วนต่างๆ ภายในเซลล์ เช่น โปรโตพลาสซึม ตลอดจนเป็นองค์ประกอบ ของสารชีวเคมี เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ของเซลล์ เช่น เอนไซม์ เป็นต้น
จากกระบวนการทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ากระบวนการละลาย สารประกอบ อนินทรีย์ฟอสเฟตในดินโดยจุลินทรีย์พีเอสเอ็ม เป็นกระบวนการที่ มีความสำคัญ ต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด เนื่องจากความเป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งในแง่ปริมาณและระยะเวลาที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นานเพียงใด สิ่งสำคัญส่วนหนึ่งมาจากชนิด ปริมาณ และการดำเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้
หินฟอสเฟตแหล่งของธาตุฟอสฟอรัสราคาถูก
หินฟอสเฟต (rock phosphate) คืออะไร?
หินฟอสเฟต หมายถึง หินที่มีแคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) เป็นส่วน ประกอบที่สำคัญโดยมีองค์ประกอบอื่นๆ ปนอยู่ด้วย เช่น แคลไซต์ ซิลิกา ซิลิเกต ออกไซด์ของเหล็ก และอะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ของเหล็กและอลูมิเนียม หินฟอสเฟตส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยจะอยู่ในรูปของแร่อะพาไทด์ (apatite) ลักษณะหินฟอสเฟตส่วนมากมีเนื้อละเอียดแน่นไม่เป็นผลึกหรือเป็นผลึกที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ในการหาปริมาณของฟอสเฟตมักจะวิเคราะห์เป็นเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus) แล้วบอกปริมาณในรูปของฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ (P2O5)
แหล่งของหินฟอสเฟต
หินฟอสเฟตแบ่งตามแหล่งที่มาเป็น 4 ชนิดคือ
มารีนฟอสเฟต (marine phosphate rocks) เป็นหินฟอสเฟตที่เกิดจากการตกตะกอนของฟอสเฟตและแคลเซียมในทะเล ประกอบด้วยแร่อะพาไทด์ เป็นองค์ประกอบหลักโดยเป็นพวกคาร์บอเนตอะพาไทต์อาจมีแคลไซต์และซิลิกา ปะปนอยู่
กัวโนฟอสเฟต (marine phosphate rocks) เป็นหินฟอสเฟตที่เกิดจากมูลนกทะเลหรือมูลสัตว์ เช่น ค้างคาว หากมีหินปูนรองรับจะเป็นหินฟอสเฟต ที่แร่อะพาไทต์เป็นแร่หลัก แต่ถ้าบริเวณนั้นมีหินจากภูเขาไฟรองรับจะเป็นแร่ฟอสเฟตประเภทอะลูมิเนียมฟอสเฟต เหล็กฟอสเฟต หรือ เหล็กอะลูมิเนียมฟอสเฟต แต่อย่างไร?ก็ตามมักมีแร่อะพาไทต์ปะปน อาจมีสารอินทรีย์และสาร ประกอบไนโตรเจนปะปนอยู่ด้วย

ليست هناك تعليقات: