١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

ของฟอสเฟตที่ตกตะกอนสะสมในทะเล เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ทางธรณีวิทยา โดยการยกตัวของเปลือกโลกก็จะกลายเป็นภูเขา หรือแหล่งของหินฟอสเฟตบนแผ่นดิน

โดยทั่วไปแล้ววัฏจักรฟอสฟอรัสในดินที่ไม่ถูกรบกวน เช่นในพื้นที่ป่าจะเป็น วัฏจักรแบบปิด แต่ในพื้นที่เกษตรกรรมวัฏจักรของฟอสฟอรัสจะเป็นแบบเปิดเนื่องจากมีการใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดิน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงตามที่ต้องการ
นอกเหนือไปจากปฏิกิริยาการตรึงฟอสฟอรัสโดยกระบวนการทางเคมีในดินแล้ว จุลินทรีย์ในดินจัดเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดินต่อพืช เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์ในกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟตด้วยกรดอินทรีย์ (solubilization) การย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตด้วยเอนไซม์ (mineralization) และการตรึงฟอสฟอรัส (immobilization) โดยการดูดซึมเข้าสู่ภายในเซลล์
กระบวนการละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต เป็นกระบวนการ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเพิ่มธาตุอาหารฟอสฟอรัสให้แก่พืช โดยจุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรียและรายจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูปของสาร ประกอบฟอสเฟต ที่ไม่ละลายน้ำซึ่งพืชไม่สามารถดูดดึงไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น หินฟอสเฟต กระดูกป่น โดยเฉพาะฟอสเฟตที่ถูกตรึงด้วยกระบวนการทางเคมีในดินให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดดึงไปใช้ประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโต จุลินทรีย์ ในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สร้างกรดอินทรีย์ละลายฟอสเฟต (Phosphate Solubilizing Microorganisms, PSM) หรือเรียกโดยย่อว่า “จุลินทรีย์พีเอ็สเอ็ม”
การย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตจะเกิดขึ้นเป็นอย่างมากภายหลังการเก็บเกี่ยวพืช หรือเมื่อมีการเดิมอินทรียวัตถุลงสู่ดิน การย่อยสลายเกิด
ขึ้นจากเอนไซม์ต่างๆ ที่สร้างโดยจุลินทรีย์ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง หรือในดินที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ตลอดจนอินทรียวัตถุในรูปอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ กระบวนการตรึงหรือการนำฟอสฟอรัสไปใช้ จุลินทรีย์จะดูดซึม ฟอสฟอรัสไปใช้โดยเปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต ซึ่งใช้ในการสร้าง

ليست هناك تعليقات: