١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร

เพียงพอต่อ ความต้องการของพืช ดินที่ใช้ในการเกษตรโดยทั่วไป มักมีฟอสเฟตอิออนในสารละลายดินไม่เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัส
ให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะเดียวกันปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตที่ละลายได้ดี เมื่อใส่ลงดิน อาจถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปที่ไม่ละลายด้วยกระบวนการตรึงฟอสเฟต ทางาเคมี (chemical fixation of phosphate) ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในดินที่มี สภาพเป็นกรด และดินที่มีสภาพเป็นด่าง ภายในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2 ใน 3 ของปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ลงในดินพืชจะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์จะถูกตรึงโดยองค์ประกอบ หรือ อนุภาคต่างๆ ในดิน ในดินกรดการตรึงฟอสเฟตจะเกิดจากการตกตะกอนของฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ยาก ฟอสเฟตยังถูกตรึงโดยการทำปฏิกิริยาระหว่าง แคลเซียมและฟอสเฟตเป็น ไต – และไตรแคลเซียมฟอสเฟตซึ่งละลายน้ำได้ยาก ในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกพืชอย่างต่อเนื่อง การเติมธาตุอาหารฟอสฟอรัส โดยเฉพาะในรูปของปุ๋ยที่ละลายน้ำได้เป็นสิ่งจำเป็นทั้งเพื่อคงปริมาณฟอสฟอรัส ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ต่อไป รวมทั้งเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือมีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ ด้วยเหตุนี้ ดิน พืช น้ำ การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส หรือสภาพลมฟ้าอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการตอบสนองของพืชต่อการใส่ปุ๋ย ฟอสฟอรัสได้อย่างเหมาะสม
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด แหล่งสำคัญของฟอสฟอรัสมาจากหินฟอสเฟต การสึกกร่อนของหินฟอสเฟตโดยลม และ การชะล้างโดยน้ำก่อให้เกิดการสะสมของธาตุฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟตทั้งในดินและในแหล่งน้ำ หินฟอสเฟต (รวมทั้งปุ๋ยเคมีฟอสฟอรัสที่ผลิตจากหินฟอสเฟต)ในส่วนที่ละลายน้ำได้จะถูกดูดดึงไปใช้ในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต ตลอดจนการทำงานต่างๆ ของระบบเมแทบอลิซึมในเซลล์พืช และเกิดจะเกิดการถ่ายทอดอินทรีย์ฟอสเฟตสู่สัตว์ที่กินพืชซึ่งจะปลดปล่อยฟอสเฟตที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งขับถ่ายของสัตว์ลงสู่ดิน ในส่วนของพืชและสัตว์ที่ตายลงจะถูกจุลินทรีย์ ย่อยสลายและปลดปล่อยฟอสเฟตออกมา ซึ่งบางส่วนจะถูกพืชดูดดึงไปใช้ บางส่วนจะถูกตรึงโดยกระบวนการทางเคมีและสะสมในดิน บางส่วนจะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ ส่วน

ليست هناك تعليقات: