١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

นอกจากการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ จากสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวที่ตรึงไนโตรเจนในนาข้าวเพื่อทดแทนการนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจน ขณะนี้คงถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับ นโยบาย ระดับบริหาร และ ระดับปฏิบัติการ และท้ายที่สุดตัวเกษตรกรเองจะต้องให้ความสนใจศึกษาแนวทางการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีในประเทศ คือ หินฟอสเฟต และจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟส หรือจุลินทรีย์พีเอสเอ็ม มาใช้เป็นแหล่งของธาตุอาหารฟอสฟอรัสในการเพาะปลูกพืชทั้งเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า และเพิ่มการพึ่งพาตนเอง อันจะนำไป สู่การสร้างความมั่นคงด้านอาหารของประเทศในอนาคตอย่างยั่งยืน
บทบาทของธาตุฟอสฟอรัสในพืช
ฟอสฟอรัสนับเป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญในการผลิตพืชอาหารรองจากธาตุ ไนโตรเจน พืชจะมีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ร้อยละ 0.05 – 0.5 โดยพบในรูปของสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นส่วนประกอบของไฟดิน (phytin) ฟอสโฟลิปิด (phospholipid) กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) น้ำตาลฟอสเฟต (phosphorylated sugar) และโคเอนไซม์ (coenzyme) นอกจากนี้ฟอสฟอรัสยังมีบทบาท เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้น้ำตาลและแป้ง การสังเคราะห์ แสง การสร้างนิวเครียส การแบ่งเซลล์ การสร้างไขมันและโปรตีน ตลอดจนการ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม รวมถึงการถ่ายทอดพลังงานในกระบวนการ เมแทบอลิซึมที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และการทำลายต่างๆ ภายในเซลล์ ในช่วงของการเจริญเติบโตพืชจะดูดดึง (uptake) ฟอสฟอรัสในปริมาณมาก และฟอสฟอรัสในพืชจะถูกนำไปสะสมในผลและเมล็ดในช่วงการสืบพันธุ์ของพืช หากพืชได้รับธาตุนี้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการจะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของพืชผิดปกติ ต้นแคระแกรน มีการหายใจและการสังเคราะห์แสงลดลง ใบมีสีเขียวเข้มผิดปกติ ผลผลิตต่ำ โดยทั่วไปพืชจะดูดดึงฟอสฟอรัสจากดินในรูปโมโนเบสิคออร์โทฟอสเฟตอิออน (monobasic orthophosphate ion,H2 PO4)เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาอยู่ในรูปไดเบสิคออร์โทฟอสเฟตอิออน (dibasic orthophosphate ion, HPO4) ระดับของฟอสฟอรัสในดินเกี่ยวข้องกับระดับ ของฟอสฟอรัสในพืชเป็นอย่างมาก กล่าวคือดินที่มีระดับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ จะทำให้พืชที่ปลูกในบริเวณนั้นมีปริมาณฟอสฟอรัสในพืชต่ำจนอาจไม่

ليست هناك تعليقات: