١٦‏/١٢‏/٢٠٠٧

เทคโนโลยีธาตุอาหาร และ ความมั่นคง

กำลังพัฒนาในทวีปเอเซีย แอฟริกา และละตินอเมริกา) ซึ่งมักมีปัญหา ขาดธาตุอาหารฟอสฟอรัสรวมอยู่ด้วย โดยพัฒนาวิธีการจัดการธาตุอาหารแบบผสมผสานเพื่อการเพาะปลูกซึ่งครอบคลุมถึงการใช้ธาตุอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีภายในประเทศ เช่น หินฟอสเฟต จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต(Phosphate Solubilizing Microorganisms. PSM – จุลินทรีย์พีเอสเอ็ม )
จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศ (Nitrogen – Fixing Microorganisms, NFM) รวมทังปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยพืชสด
ในส่วนของประเทศไทยมีพื้นที่ดินที่มีปัญหาทางการเกษตรเนื่องจาก คุณสมบัติที่เป็นกรด ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ 44 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ประมาณ 228,098 ตารางกิโลเมตร หรือ 140 ล้านไร่) ดินกรดส่วนใหญ่อยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 64 ล้านไร่ ภาคใต้ประมาณ 25 ล้านไร่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกประมาณ 18 ล้านไร่ ภาคกลางประมาณ 17 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 7 ล้านไร่ ดินกรดมักเกิดในพื้นที่เขตร้อนชื้นมีฝนชุก เนื่องจากดินผ่านกระบวนการชะล้างหรือถูกใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ทำให้ธาตุประจุบวกที่เป็นด่างถูกชะล้างไปมาก มีความอุดมสมบูรณ์ ต่ำเนื่องจากแร่ดินเหนียวและอินทรียวัตถุถูกชะล้างไปด้วย มีค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วๆ ไปของดินกรดต่ำถึงต่ำมาก นอกจากนี้ ดินยังมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำอีกด้วย นอกจากปัญหา ดินกรดแล้ว พื้นที่การเกษตรโดยทั่วไปของประเทศยังขาดธาตุอาหารหลักของพืช คือ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ค่อนข้างรุนแรง ส่วนโพแทสเซียมขาดในระดับ ปานกลาง แต่จะรุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้ ประเทศไทยมีปริมาณ การนำเข้าและใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเป็นอันดับหนึ่ง รองลงไป คือ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ตามลำดับ เนื่องจากไทยไม่สามารถผลิตแม่ปุ๋ยใช้เองได้ จึงต้องมีการนำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศ ทำให้สูญเสียเงินตราปีละนับหมื่นล้านบาท ในปี 2542 ประเทศไทยมีการนำเข้าปุ๋ยทั้งสิ้น 3.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 17,000 ล้านบาท ในปี 2548 นำเข้าปุ๋ย 3.6 ล้านตัน มูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเท่ากับ 36,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าแม้ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเพิ่มขึ้นเพียว 0.1 ล้านตัน แต่มูลค่า การนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมถึง 19,000 ล้านบาท นับเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาคการเกษตรของไทย

ليست هناك تعليقات: